บทที่
2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
วิจัยเรื่อง
เจลน้ำหอมปรับอากาศได้มีการสืบค้นเนื้อหา เอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.ความสำคัญของอากาศ
-มีก๊าซบางชนิดที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์
สัตว์และพืช
-มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ
และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้ และแร่ธาตุ
-ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก ไอน้ำ
และคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน
-ทำให้เกิดลมและฝน
-มีผลต่อการดำรงชีวิต
สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้ง หรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
-ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์
โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม
เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรค ต้อกระจก
-ช่วยเผาไหม้
วัตถุที่ตกมาจากฟ้า หรืออุกกาบาต ให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ
จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และทรัพย์สิน
-ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม
โดยอนุภาคของสิ่งอื่นที่ปน อยู่กับก๊าซในบรรยากาศจะทำให้แสงหักเห เราจึงมองเห็นท้องฟ้า
มีแสงสีที่งดงามแทนที่จะเห็นเป็นสีดำมืด นอกจากนี้
ก๊าซโอโซนซึ่งมีสีน้ำเงินยังช่วยให้มองเห็น ท้องฟ้าเป็นสีครามหรือสีฟ้าสดใสอีกด้วย
2.น้ำมันหอมระเหย
คือ
สารที่ถูกสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของพืช ไม่ว่าจะเป็น ใบ เปลือกผล เปลือกไม้
หรือเนื้อไม้
โดยน้ำมันที่สกัดได้จะให้กลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามพืชแต่ละชนิด
และกระบวนการกลั่นน้ำมันหอมระเหยเพื่อแยกน้ำมันออกจากพืชนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน
อย่างการใช้ไอน้ำ การสกัดเย็น หรือการใช้สารเคมี
ซึ่งน้ำมันหอมระเหยที่ผ่านกระบวนการทางเคมีจะไม่ถูกจัดว่าเป็นน้ำมันหอมระเหยแท้
น้ำมันหอมระเหยมักถูกนำมาใช้ในศาสตร์สุคนธบำบัด หรือที่เรียกกันว่าอโรมาเธอราพี (Aromatherapy)
ซึ่งเป็นการใช้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชมาบำบัดหรือรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ
โดยมีการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อบำบัดด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น สูดดมกลิ่น
ทาลงบนผิวหนัง นวดน้ำมัน หรือนำมาบริโภคโดยผสมกับชาหรือน้ำผึ้ง เป็นต้น
แม้ว่าน้ำมันหอมระเหยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ แต่ก็อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป
เนื่องจากพืชและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
จากพืชมักมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้บางรายได้
โดยทั่วไปจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำมันหอมระเหย เพราะอาจทำให้เกิดอาการชัก
และส่งผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ (จักรรินทร์ แก้วชื่น,2557)
น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด
(Bergamot)
น้ำมันหอมระเหยเบอร์กาม็อท ช่วยดับกลิ่นและให้ความสดชื่น
และเสริมสร้างอารมณ์ให้มีทัศนะในทางบวกมากขึ้น ทำให้จิตใจของคุณร่าเริงเบิกบาน
เหมาะสำหรับผิวมัน
น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้มีความไวต่อแสงอาทิตย์มาก
จึงทำให้ผิวหนังไหม้ได้ง่าย คุณจึงควรใช้น้ำมันหอมชนิดนี้แต่เพียงเล็กน้อย น้ำมันหอมระเหยจากมะนาว
(Lemon)
ช่วยให้สดชื่น แจ่มใส มีสมาธิ
ถ้าใช้นวดจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จะช่วยให้รู้สึกร่าเริงและกระตือรือร้น กระปี้กระเปร่าสามารถใช้ในการอาบน้ำนวดคลายกล้ามเนื้อ
แต่สิ่งที่คุณควรระวังก็คือ ไม่ควรใช้ก่อนออกแดดเพราะจะทำให้ผิวหนังของคุณไหม้ได้ น้ำมันหอมระเหยจากส้ม
(Orange)
ช่วยให้การเผาผลาญพลังงาน เป็นไปตามปกติ ช่วยให้สดชื่น
ผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงานหนักมาทั้งวัน และยังให้ความรู้สึกเย้ายวน
ทำให้มีจิตใจเบิกบานและอารมณ์เย็น แต่คุณไม่ควรใช้น้ำมันหอมประเภทนี้ก่อนการออกแดด
เช่นเดียวกับน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดและมะนาว น้ำมันหอมระเหยจากต้นชา ( Tea
Tree) ช่วยทำความสะอาดผิวได้ ช่วยพัฒนาความคิดในเชิงบวก และเสริมสร้างความมั่นใจให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
น้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงา (Yiang Yiang)
ช่วยให้มั่นใจ และจิตใจสบาย ให้ความรู้สึกคลาสสิก
ให้ความอบอุ่นและอารมณ์ รัญจวน ถ้าผสมกับครีม โลชั่นจะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้
เหมาะสำหรับผิวทุกประเภท ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เหมาะในการใช้อาบน้ำ นวดคลาย
กล้ามเนื้อ 2 น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบ
(Rose)
ช่วยผ่อนคลายความเครียด ฟื้นฟูความมั่นใจ แม้น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้จะมีราคาสูงมาก
เพราะต้องใช้กลีบกุหลาบในปริมาณมากๆ ในการสกัด แต่ก็มีสรรพคุณที่สูงตามไปด้วย น้ำมันหอมระเหยจากสน
(Pine)
ช่วยในการลดอาการเลือดคั่งและปรับสภาพสีผิว
ส่งผลดีต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เหมาะที่จะใช้ในการสูดดม อาบน้ำ
และยังสามารถใช้บำรุงเส้นผมได้ดีอีกด้วย น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ (Peppermint)
ช่วยลดอาการบวมน้ำ
และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ดี เป็นน้ำมันชนิดที่ให้พลังงาน ยับยั้งเชื้อโรคและบรรเทาอาการเจ็บปวด
สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ในระยะ 3
เดือนแรกของการตั้งครรภ์ น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ (Lemon
Grass)
ช่วยทำความสะอาดผิวได้ดี
ช่วยในการยับยั้งการติดเชื้อโรค ป้องกันแบคทีเรีย ฉีดเพื่อสร้างอากาศบริสุทธิ์ สามารถใช้ขับไล่แมลงได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีใดๆ
ควรระวังในเรื่องของการระคายเคืองของผิวหน้า น้ำมันหอมระเหยจากมะลิ (Jasmine)
ช่วยให้เกิดความมั่นใจ มองโลกในแง่ดี ช่วยผ่อนคลายและเกิดอารมณ์รัก
ใช้ได้กับทุกประเภทผิว และดีมากสำหรับผิวแห้ง
ช่วยระงับพิษและอาการทางกล้ามเนื้อและตึงเครียดของกล้ามเนื้อ บรรเทาความเจ็บปวด แต่ไม่ควรใช้ขณะตั้งครรภ์
และทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาได้ง่าย น้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัส (Eucalyptus)
ช่วยให้หายใจโล่ง
ลดอาการแน่นหน้าอกช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นหวัด ช่วยให้มีความกระจ่าง
ปลอดโปร่งและมีสมาธิ มีคุณสมบัติ ในการขจัดแบคทีเรียอีกด้วย ถ้าใช้นวด
จะช่วยให้สดชื่น และฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายเหมาะกับผิวธรรมดาถึงผิวมัน สามารถใช้ในการอาบน้ำ
นวดคลายกล้ามเนื้อ ฉีดให้มีกลิ่นหอม ทั้งยังเป็นส่วนผสมในการผลิตภัณฑ์ บำรุงผิวพรรณและเส้นผมอีกด้วย
น้ำมันหอมระเหยจากกำยาน (Franincense) ช่วยในการบำรุงกำลังและเพิ่มความสวยงาม
ช่วยให้รู้สึกเย็นสบายและผ่อนคลาย สามารถใช้ในการอาบน้ำและฉีดให้มีกลิ่นหอมได้ น้ำมันหอมระเหยจากว่าน
(Cardamon)
ช่วยในการฟื้นฟูสภาพความเมื่อยล้าและเฉื่อยชาเซื่องซึม
เหมาะสำหรับการอาบน้ำ และนวดคลายกล้ามเนื้อ 3
น้ำมันหอมระเหยจากคาโมไมล์ (Camomile)
ช่วยทำให้ผิวสะอาด ช่วยให้จิตใจแจ่มใส มีสมาธิแน่วแน่
ถ้าใช้นวดจะช่วยให้รู้สบาย
และสงบเหมาะกับผิวแห้งและผิวธรรมดาช่วยให้ผิวหนังรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้คุณหลับสบาย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ผิวแก่ก่อนวัย
เหมาะใช้ในการอาบน้ำ และนวดคลายกล้ามเนื้อ น้ำมันหอมระเหยจากใบแมงลัก (Basil)
เสริมสร้างความกระปรี้กระเปร่าทำให้หายจากอาการง่วงเหงาซึมเซา
สร้างสมาธิ
เพิ่มมากขึ้นจิตใจปลอดโปร่ง
ใช้ได้ทั้งการอาบน้ำและการนวด แต่ควรระวังในสตรีมีครรภ์ ควรใช้ในปริมาณเล็กน้อย
และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ น้ำมันหอมระเหยโรสแมรี่ ช่วยขจัดแบคทีเรีย
ขับเชื้อโรค ทำให้สดชื่นแจ่มใสช่วยให้มีสมาธิและมีกำลังใจ
ถ้าใช้ในการนวดจะให้ความอบอุ่นกระตุ้นและปรับตัว เหมาะสำหรับผิวมัน น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์
ช่วยกำจัดแบคทีเรีย และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับเชื้อโรคออกไป ทำให้สงบ และผ่อนคลาย
ช่วยให้อารมณ์เกิดความสมดุล
ถ้าใช้ในการนวดจะช่วยให้นอนหลับสบายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ทำงานหนัก
ถ้าใช้ผสมกับครีม โลชั่นจะช่วยบำรุงผิวและลดความมันบนใบหน้า
และยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย น้ำมันหอมระเหยเป๊ปเปอร์มินต์ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย
ช่วยให้จิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ช่วยให้สดชื่นและมีชีวิตชีวา เหมาะสำหรับผิวมัน
ไม่ควรใช้กับผิวที่แพ้ง่าย
3.ความหอมมาจากไหน
1. คุณรู้หรือไม่ว่า พืชแต่ละชนิดมีส่วนที่นำมาสกัดสารหอมไม่เหมือนกัน อาทิ
เช่น กุหลาบ เจอราเนียม จากใบและลำต้นโรสแมรี่ จากใบมะกรูด จากผลเบอร์กามอท จากใบอัลมอนด์ จากเม็ดไม้สน
จากเปลือกและต้นไวโอเลต
จากดอกและลำต้นวนิลลา
2. กุหลาบตระกูลดีที่นำมาผลิตน้ำมันหอมระเหย ต้องมาจาก 2
แห่งนี้ กุหลาบชมพูจากอียิปต์ (โรส เดอ เมย์)
มักออกดอกในเดือนพฤษภาคม กุหลาบบัลกาเรียน จากหุบเขาในเมืองกาชานลุก ประเทศบัลกาเรีย
3. ดอกกระดังงา (อีแลง-อีแลง-Ylang-Ylang) พันธุ์ดีที่เหมาะสำหรับทำน้ำมันหอม
ต้นมาจากหมู่เกาะมาดากัสการ์ ในมหาสมุทรอินเดีย
4. พืชตระกูลมินต์ และตระกูลเบอร์การ์มอท
ต้องมาจากฝั่งคาเลเบียนทางใต้ของอิตาลี จึงจะดี
5. พืชตระกูลขิง ไม้จันทร์ ต้องมาจากเอเชีย เช่น จากอินเดีย
6. ยางสนตระกูลดี ต้องมาจาก ฟินแลนด์
7. คุณรู้หรือไม่ว่า กว่าจะได้น้ำมันหอมระเหยแต่ละหยด ต้องใช้ ดอก ใบ ลำต้น
ฯลฯ เป็นจำนวนมหาศาล น้ำมันหอมกลิ่นกุหลาบหนัก 1
ปอนด์
ต้องใช้กลีบกุหลาบถึง 100 ล้านกลีบ หรือ กุหลาบ 2000
กิโลกรัม จะได้น้ำมันหอม เพียง 1
กิโลกรัมเท่านั้น น้ำมันหอมกลิ่นมะลิ หนัก 1 กิโลกรัม
ต้องใช้ดอกมะลิถึง 4 ล้านดอก
- น้ำมันหอมไธม์ หนัก 1
กิโลกรัม ต้องใช้ไธม์ถึง 400 กิโลกรัม
- น้ำมันหอมเนโรลิ (Neroli)
หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ ดอกส้ม ถึง 6
ตัน 6 อโรมา-เอราปี
เป็นเรื่องของการเอาเรื่องของกลิ่นหอม มาดูแลรักษาเยียวยาสุขภาพ เช่น
ถ้านอนไม่หลับ ก็สามารถใช้น้ำมันหอมระเหยตามกลิ่นที่แต่ละคนชอบ กลิ่นแต่ละกลิ่น
จะมีปฏิกิริยากับแต่ละคนไม่เหมือนกันอยู่ที่จะชอบกลิ่นไหน ในคุณสมบัติของกลิ่น
จะแยกเป็นกลุ่ม เช่น เรื่องการนอนไม่หลับนี้
สามารถเลือกได้จาก กลิ่นแมนดาริน (กลิ่นส้ม), กลิ่นกุหลาบ
(โรส), กระดังงา (อีแลง อีแลง), จัสมิน
(มะลิ), ผิวส้ม หรือเลมอนกราสส์
ที่จริงในต่างประเทศจะมีวิธีทดสอบทางเคมีว่า
แต่ละคนจะเหมาะกับกลิ่นอะไรโดยใช้การเทส แต่วิธีที่สามารถทำได้ก็คือ ทำย้อนกลับกัน
คือให้เลือกกลิ่นที่ชอบเอาเองเพราะกลิ่นที่เราดมแล้วหอมก็คือใช่
4.หลักการเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยมีอะไรบ้าง
1. หลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยที่ฉลากระบุว่า Perfume
oil
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการนำน้ำมันหอมระเหยชนิดสังเคราะห์ที่ได้กลิ่นเหมือนกันมาใช้แทน
ไม่มีประโยชน์ในการบำบัด กลิ่นแรกหลังจุดจะรู้สึกแสบจมูก
2. หากน้ำมันหอมระเหยบรรจุอยู่ในขวดแก้วใส
คุณสมบัติหรือประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยจะหาย กลิ่นจะไม่คงทน
และประโยชน์ในการบำบัดก็จะลดลงตามไปด้วย วิธีการเลือกซื้อที่ถูกต้อง คือ
ต้องเลือกใช้ภาชนะบรรจุที่มีขวดแก้วสีทึบ เช่น สีน้ำตาล สีน้ำเงิน หรือสีเขียว
3. หลีกเลี่ยงการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นจวดพลาสติก หรือมีจุกยาง
เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจะละลายพลาสติก
4. ราคาของน้ำมันหอมระเหยโดยปกติแล้วมีราคาประมาณ 1,000
– 10,000
บาทต่อลิตร โดยเฉพาะมะลิและกุหลาบจะมีราคาแพงมาก เพราะฉะนั้นหากท่านเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยได้ในราคาถูก
ขอให้หยุดคิดสักนิดว่าอาจไม่ใช่ของแท้ 100
เปอร์เซ็นต์
5. หากพบน้ำมันหอมระเหยมีตะกอนอยู่ก้นขวดหรือแขวนลอยอยู่
ขอให้เลี่ยงเพราะน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวอาจถูกเก็บไว้นานเกินไป
6. ควรหลีกเลี่ยงผู้ค้าที่มาขายในช่วงเทศกาลหรือตามสถานที่จัดงานต่าง
เนื่องจากไม่มีแหล่งที่อยู่ที่แน่นอน ไม่สามารติดต่อได้ภายหลัง
ควรซื้อจากร้านสปาโดยตรง
7. การเลือกซื้อควรได้พิสูจน์กลิ่นก่อนว่ากลิ่นเป็นอย่างไร แสบมูก
หรือฉุนหรือไม่ ผู้ขายสามารถอธิบายถึงสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวได้หรือไม่
5.สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย
1.บรรเทาอาการเก็บกด
หดหู่ ซึมเศร้า วิตกกังวล ช่วยให้จิตใจสงบทำให้นอนหลับสบาย
2.ลดอาการวูบวาบใยวัยหมดประจำเดือน
ลดอาการหงุดหงิดก่อนมีรอบเดือน PMS
3.ปลดปล่อยความกดดัน
กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ บรรเทาอาการตาบวม เมื่อยล้า ระงับกลิ่นปาก
ช่วยให้ผิวที่เหี่ยวย่นชุ่มชื้น
6.ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
1. ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ
2. ใช้ท้ำความสะอาดขวดน้ำ
3.
ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ บวมช้ำ ของมีคมบาดและแมลงกัดต่อย
7.วิธีการทำเจลปรับอากาศ
สีผสมอาหาร
รูปที่2.10 สีผสมอาหาร
ลักษณะทั่วไป
สีผสมอาหารเป็นสีย้อม
สารสีหรือสารใดๆ ที่ให้สีเมื่อเพิ่มในอาหารหรือเครื่องดื่ม
มีหลายรูปแบบทั้งของเหลว ผง เจลและสีป้าย สีผสมอาหารใช้ทั้งในการผลิตอาหารเชิงพาณิชย์และในการประกอบอาหารในบ้าน
เนื่องจากความปลอดภัยและหาได้ทั่วไป
สีผสมอาหารยังใช้ประโยชน์นอกเหนือจากอาหารได้หลายอย่าง รวมถึงเครื่องสำอาง
โครงการงานทำมือและอุปกรณ์การแพทย์
คำแนะนำสำหรับการเลือกใช้สีผสมอาหาร
ถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็กลับเป็นโทษแก่ร่างกายได้
สีที่ ได้จากธรรมชาติเป็นสีที่ใช้ได้ปลอดภัยที่สุด
ส่วนสีสังเคราะห์มีอันตรายต่อชีวิตมากกว่า สีประเภทอื่น ๆ
จากการที่สีสังเคราะห์ทุกชนิดเป็นสาร ที่ไม่มีประโยชน์
หรือไม่มีคุณค่าทางอาหารต่อร่างกาย หากรับประทานอาหารที่มีสีสังเคราะห์บ่อย ๆ
สีจะสะสมอยู่ใน ร่างกายมากขึ้น เมื่อมีสีสังเคราะห์สะสมอยู่ในร่างกายมากพอ
ก็จะก่อให้เกิดอันตราย แก่เราหรือผู้บริโภคได้แต่ถ้าหากต้องการใช้สีสังเคราะห์จะต้องใช้แต่น้อยและปริมาณจำกัด
(จุรีรัตน์ ห่อเกียรติ,2540)
สรรพคุณของสีผสมอาหาร
1.
แก้สีของอาหารที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีตามธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงขณะแปรรูป
2. เพิ่มหรือรักษาความเป็นเอกลักษณ์สีของอาหาร
3.
ให้สีสันของอาหารดึงดูดความสนใจที่น่ารับประทานแก่ผู้บริโภค
ประโยชน์ของสีผสมอาหาร
1. สำหรับแต่งอาหารทั่วไปที่ไม่มีสี
เพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค
2.
แต่งอาหารที่มีเปลี่ยนแปลงสีระหว่างกระบวนการผลิต และการเก็บรักษา
3. แต่งอาหารที่มีสีเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
และสภาพภูมิอากาศ
ผงวุ้น
รูปที่2.11
ลักษณะทั่วไป
ผงวุ้นนั้นทำมาจากคลอลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนในเนื้อเยื่อพังผืดของสัตว์
เช่น กระดูก เอ็น
หนังสัตว์ การหุงต้มทำให้คลอลาเจนเปลี่ยนเป็นเจลาติน แล้วผ่านขบวนการทำให้แห้งและบดให้เป็นเม็ดเล็กๆ
(สิติมา จิตตินันทน์,2537)
ประโยชน์ของผงวุ้น
1.เสริมสร้างสุขภาพผม
เล็บ ให้แข็งแรงเงางาม ลดปัญหาผมขาดร่วง
2.ผิวหนังมีความยืดหยุ่นแข็งแรงขึ้น
บำรุงข้อต่อ
3.เป็นโปรตีน
จึงช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ฟื้นตัวหลังออกกำลังกาย
น้ำหอมปรับอากาศชนิดเจล
อุปกรณ์
เจลาตินชนิดผง
1 ออนซ์
น้ำเย็น
2 ถ้วยตวง (แยกเป็นถ้วยต่างหาก)
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นโปรดประมาณ
20-30 หยด
เกลือป่น
1 ช้อนโต๊ะ
สีผสมอาหาร
(สีอะไรก็ได้)
ขวดโหลชนิดทนความร้อนได้ประมาณ
3 ขวดตะเกียบชนิดใช้แล้วทิ้ง
วิธีทำ
1.ตั้งกระทะบนเตาเทน้ำ
1 ถ้วยตวงลงไปต้ม ต่อด้วยใส่ผงเจลาตินตามลงไปคนสักพัก
ให้เจลาตินสะลายให้หมดจากนั้นใส่เกลือลงไปตามด้วยใส่น้ำไปอีกถ้วยที่เหลือ
คนส่วนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วปิดไฟตั้งทิ้งไว้สักพัก
2.เทน้ำมันหอมระเหยที่เตรียมไว้ใส่โหลและเติมที่ผสมอาการลงไปด้วย
จากนั้นก็เทเจลาตินที่กำลังอุ่นๆตามลงไปแล้วใช้ตะเกียบคนให้เจลาติน สีผสมอาหาร
และน้ำมันหอมระเหยเข้ากันให้ดี
3.รอจนน้ำหอมปรับอากาศคายความร้อนแล้วก็ค่อยเปิดฝาขวดโหล
ซึ่งคุณสามารถเจาะฝาขวดโหลเพื่อเปิดโอกาศให้กลิ่นหอมระเหยออกมาได้ง่ายขึ้น
หรือจะใช้พลาสติกคลุมฝาโหลแล้วเจาะรูก็ได้